วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเภทของใยอาหาร


ใยอาหาร (Dietary fiber) หมายถึง ส่วนผนังเซลของพืช เช่น ผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืชที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร จึงไม่ให้พลังงาน
ประเภทของใยอาหาร
แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
dietary fiber1 ใยอาหารที่ละลายน้ำไม่ได้ (Insoluble Fiber) หมายถึงใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะพองตัวในน้ำเหมือนฟองน้ำไม่ให้ความหนืด ทำให้เพิ่มปริมาตรน้ำในกระเพาะอาหารจึงรู้สึกอิ่ม ใยอาหารพวกนี้ ใยอาหารประเภทนี้ แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ไม่สามารถย่อยได้ ช่วยเพิ่มมวลอุจจาระ ลดปัญหาท้องผูกได้
เซลลูโลส (Cellulose)
เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose)
ลิกนิน (Lignin)
2ใยอาหารที่ละลายน้ำได้ (Soluble Fiber) หมายถึงใยอาหารที่เมื่อ ละลายน้ำ แล้วดูดซับน้ำไว้กับตัว ให้ความหนืดสารเหล่านี้ร่างกายย่อยไม่ได้ แต่ แบคทีเรียที่อาศัยในสำไส้ใหญ่สามารถย่อยได้
ตัวอย่างของใยอาหารที่ละลายน้ำได้ เช่น
- unabsorb sugar เช่น sugar alcohol
- heteropolysaccharide เช่น
แหล่งของใยอาหร
ผักและเมล็ดธัญพืชทั้งเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการขัดขาว เป็นแหล่งสำคัญของใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ส่วนผลไม้ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นแหล่งของใยอาหารที่ละลายน้ำได้ การได้รับใยอาหารทั้ง 2 พวกในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้เกิดความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
dietary fiberอาหารที่มีใยอาหารสูง (มากกว่า 3 กรัม/อาหาร 100 กรัม) ข้าวกล้อง,เมล็ดธัญพืชทั้งเมล็ด (whole cereal grain) เม็ดแมงลัก ผลไม้ เช่นแอปเปิ้ลฝรั่ง, ข้าวโพดอ่อน, ผักหวานถั่วเหลือฝักสดกระเจี๊ยบเขียว ถั่วฝักยาว, แพร์, ถั่วเขียวแครอท,
  • อาหารที่มีใยอาหารปานกลาง (1-3 กรัม/อาหาร 100 กรัม) คะน้า, กระหล่ำปลี,น้อยหน่า,ข้าวโพดต้ม, พุทรา
  • อาหารที่มีใยอาหารน้อย (น้อยกว่า 1 กรัม/อาหาร 100 กรัม) ข้าวขาว, ขนุน, ลิ้นจี่, ชมพู่, องุ่น, มะม่วง, ละมุด, ลำไยกล้วยแตงกวา,แตงโม, แตงไทย, มะปราง, ส้ม
  • อาหารที่ไม่มีใยอาหาร หรือมีน้อยมาก ได้แก่อาหาร พวก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เช่น หอย ปลาหมึก
ปริมาณที่ควรได้รับ
Thai Recommended Daily Intake (Thai RDI) ได้กำหนด ปริมาณเส้นใยอาหารที่ร่างกายควรรับเท่ากับ 25 กรัมต่อวัน ซึ่งนักโภชนาการแนะนำให้เลือก รับประทานผักผลไม้วันละ 5 ที่เสิร์ฟ (Serving) เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสีและถั่วเมล็ดแห้งวันละ 7 ที่เสิร์ฟ (Serving) จะทำให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหารเพียงพอต่อหนึ่งวัน
ประโยชน์ของใยอาหาร
ใยอาหารเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน แต่เป็นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ จัดเป็น functional food เหมาะเป็นอาหารสำหรับคนทั่วไป และอาหารผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประโยชน์ของใยอาหารต่อสุขภาพคือ
  • เป็นพริไบโอติก (Prebiotic) ใยอาหารประเภท soluble fiber ซึ่งไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหาร แต่จะเป็นอาหารให้กับ แบคทีเรียกลุ่ม Probioticที่พบได้ในลำไส้ใหญ่ เช่น Lactobacillus
  • ลดไขมันในเลือด
  • ลดน้ำตาลในเลือด
  • ป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  • ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว
การใช้เป็นส่วนผสมอาหาร
ภาวะปัจจุบันผู้บริโภคนิยมบริโภค อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูปอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น แต่ ยังให้ความสนใจด้านสุขภาพ จึงทำให้บริษัทผู้ผลิตอาหารต้องคำนึงถึงการใช้ใยอาหาร ผสมในอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ สารที่นิยม ใช้ผสมเพื่อเป็นแหล่งของใยอาหารได้แก่